การศึกษาสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ
จะช่วยในการทำนายสมบัติของธาตุได้
ถ้ารู้ตำแหน่งของธาตุนั้นในตารางธาตุหรือถ้ารู้สมบัติบางประการของธาตุอาจพิจารณาตำแหน่งของธาตุได้ดังตัวอย่างการจัดตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนที่ศึกษามาแล้ว
ต่อไปนักเรียนจะได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาวิธีการประมาณตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุและการทำนายสมบัติของธาตุเมื่อรู้ตำแหน่งของธาตุนั้นในตารางธาตุดังต่อไปนี้
การทดลอง 3.5 การศึกษาสมบัติของธาตุเพื่อหาตำแหน่งในตารางธาตุ
1. สังเกตลักษณะภายนอกของธาตุตัวอย่าง 2 ธาตุที่อยู่ในหลอดทดลองหมายเลข 1 และ 2 ตามลำดับและทดสอบการนำไฟฟ้าของธาตุทั้งสอง
2. วางแผนและออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบสมบัติของธาตุทั้งสองในเรื่องความเปราะ การทำปฏิกิริยากับน้ำ การเผาไหม้ การทำปฏิกิริยากับแก๊สคลอรีน และทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายที่เกิดขึ้น เสนอแนะให้ใช้ปริมาณธาตุตัวอย่างขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟ
การทดลอง 3.5 การศึกษาสมบัติของธาตุเพื่อหาตำแหน่งในตารางธาตุ
1. สังเกตลักษณะภายนอกของธาตุตัวอย่าง 2 ธาตุที่อยู่ในหลอดทดลองหมายเลข 1 และ 2 ตามลำดับและทดสอบการนำไฟฟ้าของธาตุทั้งสอง
2. วางแผนและออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบสมบัติของธาตุทั้งสองในเรื่องความเปราะ การทำปฏิกิริยากับน้ำ การเผาไหม้ การทำปฏิกิริยากับแก๊สคลอรีน และทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายที่เกิดขึ้น เสนอแนะให้ใช้ปริมาณธาตุตัวอย่างขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟ
ข้อเสนอแนะ
ในการเตรียมแก๊สคลอรีน ให้จัดเครื่องมือ สารเคมี พร้อมทั้งเก็บแก๊ส 4 หลอด ดังรูป
ในการเตรียมแก๊สคลอรีน ให้จัดเครื่องมือ สารเคมี พร้อมทั้งเก็บแก๊ส 4 หลอด ดังรูป
**ระวัง** ไม่ควรสูดดมแก๊สคลอรีน
เนื่องจากเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อของลำคอ ปากและปอด
- ธาตุตัวอย่างทั้งสองชนิดควรอยู่ในตำแหน่งใดของตารางธาตุ
เพราะเหตุใดจึงจัดไว้ในตำแหน่งนั้น
จากผลการทดลองทำให้ทราบสมบัติต่างๆ
ของธาตุตัวอย่าง
ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการทำนายตำแหน่งของธาตุตัวอย่างได้เบื้องต้นว่าควรจะอยู่บริเวณใดของตารางธาตุและถ้าทราบข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติของธาตุตัวอย่างเพิ่มมากขึ้น
จะสามารถทำนายตำแหน่งของธาตุตัวอย่างในตารางธาตุได้ชัดเจนยิ่งขึ้นดังตัวอย่าง
ตัวอย่าง 3 ธาตุตัวอย่าง X
มีสมบัติที่ปรากฎดังนี้
-
ธาตุ X ควรอยู่ในตำแหน่งใดของตารางธาตุ
แนวคิด จากสมบัติต่างๆ ของธาตุ X
สามารถทำนายได้ว่า
- ธาตุ X มีสมบัติคล้ายโลหะคือ มีผิวเป็นมันวาวนำไฟฟ้าได้ และไม่ละลายน้ำ ธาตุ X ไม่ควรเป็นธาตุหมู่ IA หรือหมู่ IIA
- เมื่อธาตุ X ทำปฏิกิริยากับ Cl2 ได้สารประกอบคลอไรด์เป็นของแข็งสีขาว ละลายน้ำได้สารละลายมีสมบัติเป็นกรดแสดงว่าเป็นสารประกอบคลอไรด์ของอโลหะ
- จากข้อมูลทั้งหมดทำนายได้ว่าธาตุ X มีสมบัติเป็นทั้งโลหะและอโลหะ X จึงจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ และควรอยู่ในหมู่ IVA ทางตอนล่างของตารางธาตุ
ในทางกลับกัน ถ้าทราบตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุจะสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้ ดังตัวอย่าง 4
ตัวอย่าง 4 ธาตุ Y เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 19 ธาตุ Y ควรจะมีสมบัติเป็นอย่างไร
แนวคิด เมื่อทราบเลขอะตอม ทำให้ทราบข้อมูลอื่นๆ ดังนี้
- ธาตุ X มีสมบัติคล้ายโลหะคือ มีผิวเป็นมันวาวนำไฟฟ้าได้ และไม่ละลายน้ำ ธาตุ X ไม่ควรเป็นธาตุหมู่ IA หรือหมู่ IIA
- เมื่อธาตุ X ทำปฏิกิริยากับ Cl2 ได้สารประกอบคลอไรด์เป็นของแข็งสีขาว ละลายน้ำได้สารละลายมีสมบัติเป็นกรดแสดงว่าเป็นสารประกอบคลอไรด์ของอโลหะ
- จากข้อมูลทั้งหมดทำนายได้ว่าธาตุ X มีสมบัติเป็นทั้งโลหะและอโลหะ X จึงจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ และควรอยู่ในหมู่ IVA ทางตอนล่างของตารางธาตุ
ในทางกลับกัน ถ้าทราบตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุจะสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้ ดังตัวอย่าง 4
ตัวอย่าง 4 ธาตุ Y เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 19 ธาตุ Y ควรจะมีสมบัติเป็นอย่างไร
แนวคิด เมื่อทราบเลขอะตอม ทำให้ทราบข้อมูลอื่นๆ ดังนี้
- การจัดเรียงอิเล็กตรอนของ Y คือ1s22s22p63s23p64s2
- ธาตุ Y อยู่ในหมู่ IA และอยู่ในคาบที่ 4
จากข้อมูลช่วยให้ทำนายได้ว่าธาตุ Y ควรมีสมบัติคล้ายธาตุหมู่ IA คือ มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 1 เมื่อเกิดเป็นสารประกอบมีเลขออกซิเดชัน = +1 มีสถานะเป็นของแข็ง มีจุดหลอมเหลว และจุดเดือดสูง นำไฟฟ้าได้ทำปฏิกิริยากับน้ำอย่างรุนแรง
- ธาตุ Y อยู่ในหมู่ IA และอยู่ในคาบที่ 4
จากข้อมูลช่วยให้ทำนายได้ว่าธาตุ Y ควรมีสมบัติคล้ายธาตุหมู่ IA คือ มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 1 เมื่อเกิดเป็นสารประกอบมีเลขออกซิเดชัน = +1 มีสถานะเป็นของแข็ง มีจุดหลอมเหลว และจุดเดือดสูง นำไฟฟ้าได้ทำปฏิกิริยากับน้ำอย่างรุนแรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น