นักเรียนได้ศึกษาสมบัติบางประการของธาตุหมู่
A มาแล้ว ต่อไปจะได้ศึกษาธาตุอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างธาตุหมู่ IIA
และหมู่ IIIA ที่เรียกว่า ธาตุแทรนซิชัน
ประกอบด้วยธาตุหมู่ IB ถึงหมู่ VIIIB รวมทั้งกลุ่มแลนทาไนด์กับกลุ่มแอกทิไนด์
ดังรูป
ธาตุแทรนซิชันเหล่านี้มีอยู่ทั้งในธรรมชาติและได้จากการสังเคราะห์
บางธาตุเป็นธาตุกัมมันตรังสีธาตุแทรนซิชันมีสมบัติอย่างไร จะได้ศึกษาต่อไป
1
สมบัติของธาตุแทรนซิชัน นักเคมีจัดธาตุแทรนซิชันไว้ในกลุ่มของธาตุที่เป็นโลหะ แต่ไม่ได้เป็นกลุ่มเดียวกับธาตุหมู่ IA IIA และ IIIA เพราะเหตุใดจึงจัดธาตุแทรนซิชันไว้อีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อตอบคำถามนี้ให้ศึกษาสมบัติของธาตุแทรนซิชันเปรียบเทียบกับสมบัติของธาตุหมู่ IA และ IIA ที่อยู่ในคาบเดียวกันจากตาราง 3.5
ตาราง 3.5
สมบัติบางประการของโพแทสเซียม แคลเซียม และธาตุแทรนซิชันในคาบที่ 4
จากตาราง 3.5 พบว่าธาตุแทรนซิชันในคาบที่ 4 มีสมบัติหลายประการคล้ายกับโลหะโพแทสเซียมและแคลเซียม
เช่น พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 และอิเล็กโทรเนกาติวิตีมีค่าต่ำ
แต่จุดหลอมเหลว จุดเดือด และความหนาแน่นมีค่าสูง
และสูงมากกว่าหมู่ IA และหมู่ IIA ธาตุเทรนซิชัน
จึงควรเป็นโลหะ แต่ธาตุแทรนซิชันในคาบที่ 4 มีสมบัติบางประการที่แตกต่างจากโลหะโพแทสเซียมและแคลเซียมคือ
มีขนาดอะตอมใกล้เคียงกันภายในกลุ่มของธาตุแทรนซิชันเอง
แต่มีขนาดเล็กกว่าโลหะโพแทสเซียมและแคลเซียม
นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ให้พิจารณาการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุโพแทสเซียมแคลเซียมและธาตุแทรนซิชันในคาบที่
4 ในตาราง 3.6
ตาราง 3.6 การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุโพแทสเซียม
แคลเซียม และธาตุแทรนซิชันในคาบที่ 4
*
[Ar] แทนการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุอาร์กอน
2. สารประกอบของธาตุแทรนซิชัน
สารเคมีที่ได้ศึกษามาแล้ว เช่น KMnO4 และ CuSO4 เป็นสารประกอบของธาตุแทรนซิชัน สารประกอบของธาตุในกลุ่มนี้แตกต่างจากสารประกอบของโลหะในกลุ่ม A อย่างไร นักเรียนจะได้ศึกษาสมบัติของสารประกอบของโครเมียมและแมงกานีส เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาสมบัติของธาตุแทรนซิชันอื่นๆ ต่อไป
สารเคมีที่ได้ศึกษามาแล้ว เช่น KMnO4 และ CuSO4 เป็นสารประกอบของธาตุแทรนซิชัน สารประกอบของธาตุในกลุ่มนี้แตกต่างจากสารประกอบของโลหะในกลุ่ม A อย่างไร นักเรียนจะได้ศึกษาสมบัติของสารประกอบของโครเมียมและแมงกานีส เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาสมบัติของธาตุแทรนซิชันอื่นๆ ต่อไป
การทดลอง 3.3 การศึกษาสมบัติของสารประกอบของโครเมียมและแมงกานีส
ตอนที่ 1 สารประกอบของโครเมียม
1. ใส่สารละลาย K2Cr2CO7 0.1 mol/dm3จำนวน0.5 dm3ลงในหลอดทดลองขนาดเล็ก
2. เติมสารละลาย H2SO4 1 mol/ dm3 จำนวน dm30.5 dm3เขย่า สังเกตสีของสารละลาย
3. เติมสารละลาย H2O2 เข้มข้นร้อยละ 6 โดยปริมาตร จำนวน 0.5 mol/cm3เขย่า สังเกตการเปลี่ยนแปลง
1. ใส่สารละลาย K2Cr2CO7 0.1 mol/dm3จำนวน0.5 dm3ลงในหลอดทดลองขนาดเล็ก
2. เติมสารละลาย H2SO4 1 mol/ dm3 จำนวน dm30.5 dm3เขย่า สังเกตสีของสารละลาย
3. เติมสารละลาย H2O2 เข้มข้นร้อยละ 6 โดยปริมาตร จำนวน 0.5 mol/cm3เขย่า สังเกตการเปลี่ยนแปลง
ตอนที่ 2 สารประกอบของแมงกานีส
1.
ใส่ NaOH 0.5 g ลงในหลอดทดลองขนาดกลางและใส่
MnO2 ลงไปจำนวน 0.33
g โดยให้อยู่บน NaOH แล้วเผาจน NaOH หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกับ MnO2 ตั้งไว้ให้เย็นแล้วเติมน้ำกลั่นลงไป 5 cm3เขย่า และตั้งไว้จนส่วนที่ไม่ละลายตกตะกอน สังเกตสีของสารละลาย
2. รินสารละลายจากข้อ 1 ประมาณ
2 cm3ใส่ในหลอดทดลองขนาดกลาง เติมสารละลาย H2SO4 1 mol/ dm3ลงไป 1 cm3เขย่าและสังเกตการเปลี่ยนแปลง
3. หยดสารละลาย Na2S 0.1 mol/ dm3ลงในสารละลายข้อ 2 ทีละหยดและเขย่าจนตะกอนไม่เกิดเพิ่มขึ้น สังเกตสีของตะกอนและสารละลาย กรองแล้วเก็บสารละลายที่กรองได้ไว้ทำการทดลองต่อไป
4. รินสารละลายจากข้อ 3 ประมาณ 2 cm3เติมสารละลายNaOH 2mol/ dm3ลงไปทีละหยดพร้อมกับเขย่า สังเกตสีของตะกอนที่เกิดขึ้นครั้งแรก แล้วเขย่าต่อไปอีกประมาณ 2 นาทีสังเกตสีของตะกอนและสารละลาย
3. หยดสารละลาย Na2S 0.1 mol/ dm3ลงในสารละลายข้อ 2 ทีละหยดและเขย่าจนตะกอนไม่เกิดเพิ่มขึ้น สังเกตสีของตะกอนและสารละลาย กรองแล้วเก็บสารละลายที่กรองได้ไว้ทำการทดลองต่อไป
4. รินสารละลายจากข้อ 3 ประมาณ 2 cm3เติมสารละลายNaOH 2mol/ dm3ลงไปทีละหยดพร้อมกับเขย่า สังเกตสีของตะกอนที่เกิดขึ้นครั้งแรก แล้วเขย่าต่อไปอีกประมาณ 2 นาทีสังเกตสีของตะกอนและสารละลาย
ตาราง 3.7
สีของสารประกอบและไอออนของโครเมียมและแมงกานีสในน้ำ
*
ไม่ละลายน้ำ
เมื่อเปรียบเทียบสีของสารละลายจากผลการทดลองกับข้อมูลในตาราง
3.7
รวมทั้งใช้ความรู้เกี่ยวกับเลขออกซิเดชันของธาตุ
สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากผลการทดลองในตอนที่ 1
ได้ว่า เมื่อเติมกรดซัลฟิวริกลงในสารละลายโพแทสเซียมไดโครเมต
สารละลายยังคงมีสีส้มแสดงว่า Cr2O72-ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
เมื่อเติมสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ลงไปอีกสารหนึ่ง สารละลายเปลี่ยนเป็นสีเขียว
แสดงว่าโครเมียมอะตอมในCr2O72-ซึ่งมีเลขออกซิเดชัน +6 เปลี่ยนเป็นCr3 + ซึ่งมีเลขออกซิเดชัน +3 เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในตอนที่
1 ได้ดังนี้
Cr2O2-(aq)
+ 8H+(aq) +3H2O2(l) → 2cr3+(aq) + 7H2O(aq)+
3O2(g)
ในทำนองเดียวกันจากการทดลองตอนที่ 2 เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
2MnO2
(s) + 4OH-(aq) + O2(g) ➝ 2MnO2-7 (aq) + 2H2O(l)
สีดำ สีเขียว
จากผลการทดลองทั้งสองตอนทำให้ทราบว่าโครเมียมและแมงกานีสมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่านอกจากนี้สารประกอบของทั้งโครเมียมและแมงกานีสที่มีเลขออกซิเดชันแตกต่างกันจะมีสีแตกต่างกันด้วย
เช่นโครเมียมที่มีเลขออกซิเดชัน +2 และ +3 จะมีสีฟ้าและเขียว ตามลำดับ ส่วนแมงกานีสที่มีเลขออกซิเดชัน
+3 +6 และ +7 จะมีสีน้ำตาล
สีเขียว และสีม่วงแดงตามลำดับ
ตาราง 3.8
การจัดเรียงอิเล็กตรอนของโครเมียมและโครเมียมไอออนที่มีเลขออกซิเดชันต่างๆ
จากตาราง 3.8
จะพบว่าโครเมียมเกิดเป็นไอออนที่มีประจุได้ตั้งแต่
+1 ถึง +6 โดยที่การเกิดเป็น [tex]Cr^ +[/tex] อะตอมจะเสีย 1 อิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดก่อนคือ 4s เมื่อเกิดเป็นไอออนที่มีประจุสูงขึ้น
อะตอมจะเสียอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นอิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงาน 3d
การที่โครเมียมสามารถให้อิเล็กตรอนในระดับพลังงานที่ถัดเข้าไปจากระดับพลังงานนอกสุดและเกิดเป็นไอออนที่เสถียร
ทำให้โครเมียมมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า ธาตุแทรนซิซันอื่นๆ
ก็สามารถให้อิเล็กตรอนในลักษณะเดียวกับโครเมียมและมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่าจึงเกิดสารประกอบได้หลายชนิดซึ่งนักเรียนได้ศึกษาเลขออกซิเดชันของธาตุในสารประกอบของธาตุเหล่านี้มาแล้ว
3. สารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชัน
สารประกอบของธาตุแทรนซิชันชนิดต่างๆ เช่น KMnO4ประกอบด้วย K+และ MnO4-ส่วนK3Fe(CN)6ประกอบด้วย K+และ Fe(CN)63-ทั้ง MnO4-และ Fe(CN)63-จัดเป็นไอออนเชิงซ้อนที่มีธาตุแทรนซิชันเป็นอะตอมกลางและยึดเหนี่ยวกับอะตอมหรือไอออนอื่นๆ ที่มาล้อมรอบด้วยพันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ เขียนแสดงได้ดังนี้
สารประกอบของธาตุแทรนซิชันชนิดต่างๆ เช่น KMnO4ประกอบด้วย K+และ MnO4-ส่วนK3Fe(CN)6ประกอบด้วย K+และ Fe(CN)63-ทั้ง MnO4-และ Fe(CN)63-จัดเป็นไอออนเชิงซ้อนที่มีธาตุแทรนซิชันเป็นอะตอมกลางและยึดเหนี่ยวกับอะตอมหรือไอออนอื่นๆ ที่มาล้อมรอบด้วยพันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ เขียนแสดงได้ดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น