นักเรียนได้ศึกษาสมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบรวมทั้งสมบัติของสารประกอบของธาตุบางชนิดตามคาบมาแล้ว
ต่อไปนี้จะศึกษาปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่
1.
ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ IA
และ IIA
นักเรียนทราบมาแล้วว่าธาตุหมู่ IA และ IIA เป็นโลหะ
เมื่อทำปฏิกิริยากับอโลหะแล้วจะเกิดเป็นสารประกอบไอออนิกเป็นส่วนใหญ่
ในตอนนี้นักเรียนจะได้ศึกษาเพิ่มเติมอีกว่าโลหะหมู่ IA และ IIA
เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำจะเกิดปฏิกิริยาได้ช้าหรือเร็วแตกต่างกันหรือไม่
ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีสมบัติเป็นอย่างไรจากการทดลองต่อไปนี้
การทดลอง 3.1
ปฏิกิริยาของโซเดียมและแมกนีเซียมกับน้ำ
1. ใส่สารละลาย
HCl
0.1 mol/ และสารละลาย NaOH
0.1 mol/ ลงในหลอดทดลองขนาดเล็กหลอดละ หยดฟีนอล์ทาลีนลงในหลอดทดลองทั้งสอง หลอดละ 2
หยด สังเกตสีของสารละลายและเก็บสารละลายไว้เพื่อใช้เปรียบเทียบกับสีของสารละลายที่เกิดขึ้นในการทดลองต่อไป
2. ใส่น้ำกลั่นลงในบีกเกอร์ขนาด50 จำนวน 2 ใบ
ใบละ 10 และหยดฟีนอล์ทาลีนลงในบีกเกอร์ 2 ใบ
ใบละ 2
หยด สังเกตการเปลี่ยนแปลง ใช้ปากคีบคีบชิ้นโซเดียมขนาดเมล็ดถั่วเขียว
ซับน้ำมันให้แห้งใส่ลงในบีกเกอร์ใบที่หนึ่งแล้วใช้กระจกนาฬิกาปิดปากบีกเกอร์ทันที
สังเกตการเปลี่ยนแปลง
3.
ขัดลวดแมกนีเซียมให้สะอาดแล้วใส่ลงในบีกเกอร์ใบที่ 2 ตั้งไว้ 3 นาที
สังเกตการเปลี่ยนแปลง แล้วนำบีกเกอร์ไปตั้งไฟเพื่อทำให้สารละลายมีอุณหภูมิประมาณ60 เป็นเวลา 3 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลง
รูป 3.1
โซเดียมเป็นโลหะอ่อนสามารถใช้มีดตัดได้ง่าย
Mg(s)+2H2O(l) ความร้อน ➡ Mg2+(aq) + 2Ho-(aq) +H2(g)
2Na(s)+2H2O(l) ➡ 2Na+(aq) + 2Ho-(aq) +H2(g)
โลหะโซเดียมและแมกนีเซียมเป็นธาตุหมู่ IA และ IIA ตามลำดับ เมื่อธาตุทั้งสองทำปฏิกิริยากับน้ำ
จากการทดลองพบว่ามีแก๊สเกิดขึ้นและสารละลายมีสมบัติเป็นเบสซึ่งถ้าทดสอบแก๊สที่เกิดขึ้นต่อไปจะพบว่าเป็นแก๊สไฮโดรเจน
เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
นอกจากนี้ยังพบว่า ณ อุณหภูมิห้อง
โลหะโซเดียมทำปฏิกิริยากับน้ำได้เร็วและรุนแรง ส่วนแมกนีเซียมเกิดปฏิกิริยาได้ค่อนข้างช้าแต่จะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้นในน้ำร้อน
แสดงว่าทั้งชนิดของโลหะและอุณหภูมิของน้ำมีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับน้ำ
ต่อไปนักเรียนจะได้ศึกษาสมบัติบางประการของสารประกอบของธาตุหมู่ IA และ IIA จากการทดลองต่อไปนี้
รูป 3.2
ปฏิกิริยาของธาตุโซเดียมกับน้ำ
รูป
3.3 ปฏิกิริยาของธาตุแมกนีเซียมกับน้ำร้อน
นักเรียนทราบแล้วว่าสารละลายของ NaCl และ ที่ใช้ทำการทดลอง ได้จากการน้ำสารต่างๆ
เหล่านี้มาละลายน้ำ จึงสรุปได้ว่าสารประกอบของโซเดียม โพแทสเซียม
รวมทั้งสารประกอบคลอไรด์ของแมกนีเซียมและแคลเซียมละลายน้ำได้
ส่วนการละลายน้ำของสารประกอบของธาตุหมู่ IIA เมื่อพิจารณาจากผลการทดลอง
พบว่าสารละลายผสมระหว่าง กับ NaCl และ กับ
สังเกตไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง
แสดงว่าไอออนในสารละลายผสมแต่ละคู่ไม่ทำปฏิกิริยากัน
สำหรับสารละลายที่ผสมกันแล้วมีตะกอนเกิดขึ้น เช่น กับ
หรือ กับ นักเรียนคิดว่าตะกอนนั้นควรเป็นสารใด
เมื่อผสมสารละลาย กับ
เข้าด้วยกันในสารละลายจะประกอบด้วย และ
ถ้าไอออนทั้งหมดทำปฏิกิริยากันจะได้
NaCI
และ เกิดขึ้น แต่ NaCI ละลายน้ำได้ดี ดังนั้นตะกอนสีขาวในสารละลายผสมคู่นี้จึงควรเป็น
ซึ่งเขียนสมการไอออนิกสุทธิแสดงการเกิดปฏิกิริยาได้ดังนี้
Mg2+(aq) + CO32+
(aq) ➡ MgCO3(s)
ในทำนองเดียวกัน
ตะกอนที่เกิดขึ้นจากการผสมสารละลาย MgCl2 กับ Na2HPO4 จึงควรเป็น MgHPO4 ซึ่งเขียนสมการไอออนิกสุทธิแสดงได้ดังนี้
Mg2+(aq) + HPO42-(aq) ➡ MgHPO4(s)
2. ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA
นักเรียนได้ศึกษาปฏิกิริยาของโลหะหมู่
IA และ IIA มาแล้ว
ต่อไปจะได้ศึกษาปฏิกิริยาของอโลหะจากข้อมูลแสดงการเปลี่ยนแปลง
เมื่อใช้สารละลายคลอรีน
โบรมีนและไอโอดีนที่ละลายในคาร์บอนเตตระคลอไรด์ผสมกับสารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์
โพแทสเซียมโบรไมด์และโพแทสเซียมไอโอไดด์ จากตาราง 3.3
ตาราง 3.3
แสดงผลการผสมสารละลายคลอรีน
โบรมีนและไอโอดีนในคาร์บอนเตตระคลอไรด์กับสารละลายของโพแทสเซียมแฮไลด์
จากข้อมูลในตาราง 3.3
เมื่อเติมสารละลายคลอรีนใน CCl4
ลงในสารละลาย KBr สารละลายผสมจะแยกเป็น 2 ชั้นและในชั้นของ CCl4
ปรากฎเป็นสีส้ม แสดงว่ามี Br2
เกิดขึ้นและละลายอยู่ในชั้นของ CCl4
เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาได้ดังนี้
2Br-+ Cl2 ➡ 2Cl-
+ Br2
ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อเติมสารละลายคลอรีนและโบรมีนใน
CCl4
ลงในสารละลาย KI พบว่าในชั้นของ CCl4 มีสีชมพูแกมม่วง แสดงว่ามี
เกิดขึ้นและละลายอยู่ในชั้นของ CCl4
เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาได้ดังนี้
2I-+
Cl2 ➡ 2Cl- + I2
2I-+ Br2
➡ 2Br- + I2
แสดงว่าคลอรีนสามารถทำปฏิกิริยาได้กับทั้ง KBr และ KI โบรมีนทำปฏิกิริยาได้เฉพาะ KI ส่วนไอโอดีนไม่ทำปฏิกิริยากับทั้ง KCI KBr และ KI จากข้อมูลแสดงผลการทดลองในตาราง 3.3
ช่าวยให้สรุปได้ว่า คลอรีนมีความสามารถในการทำปฏิกิริยาได้ดีกว่าโบรมีนและโบรมีนทำปฏิกิริยาได้ดีกว่าไอโอดีน
หรืออาจกล่าวได้ว่าความสามารถในการทำปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA ลดลงจากบนลงล่าง
นอกจากธาตุหมู่ VIIA จะเกิดปฏิกิริยากับธาตุอื่นได้สารประกอบชนิดต่างๆ
เช่น NaCI CaF2
HF KI แล้วยังเกิดสารประกอบที่มีธาตุองค์ประกอบเหมือนกันได้หลายชนิด
เช่น
สารที่มีธาตุองค์ประกอบเป็นโซเดียมคลอรีนและออกซิเจนสามารถเกิดเป็นสารประกอบโซเดียมไฮโปคลอไรด์
(NaCIO) โซเดียมคลอไรด์ (NaCIO2)
โซเดียมคลอเรต (NaCIO3)
หรือโซเดียมเปอร์คลอเรต
(NaCIO4)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น