เมื่อพิจารณาตารางธาตุที่ใช้ในปัจจุบัน
จะพบว่าทางด้านค่อนไปทางขวาของตารางธาตุจะมีเส้นทึบเป็นขั้นบันไดปรากฎอยู่
ธาตุทางขวาเส้นทึบจัดเป็นกลุ่มอโลหะส่วนทางด้านซ้ายจัดเป็นกลุ่มโลหะ
สำหรับธาตุที่อยู่ชิดเส้นแบ่งนี้จะเรียกว่ ธาตุกึ่งโลหะ
ธาตุในกลุ่มนี้มีสมบัติอย่างไรให้นักเรียนศึกษาสมบัติบางประการของธาตุกึ่งโลหะเปรียบเทียบกับธาตุอะลูมิเนียมซึ่งเป็นโลหะและธาตุไอโอดีนซึ่งเป็นอโลหะตามตาราง
จะพบว่าตั้งแต่ธาตุโบรอนถึงธาตุแอสทาทีน
ส่วนใหญ่มีค่าพลังงานไอออเซชันลำดับที่ 1และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีค่อนข้างสูงคล้ายกับธาตุอโลหะจุดหลอมเหลว
จุดเดือด และความหนาแน่นมีค่าสูง และสามารถนำไฟฟ้าได้เช่นเดียวกับธาตุโลหะ
สามารถเกิดสารประกอบได้ทั้งสารประกอบไอออนิกและสารประกอบโคเวเลนต์
จากสมบัติข้างต้นทำให้ได้ข้อมูลว่าตั้งแต่ธาตุโบรอนถึงธาตุแอสทาทีน โดยที่ตำแหน่งของธาตุเหล่านี้อยู่ชิดเส้นทึบลักษณะขั้นบันไดในตารางธาตุตั้งแต่หมู่ IIIA ลงมา มีสมบัติเป็นทั้งโลหะและอโลหะจึงจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ (ยกเว้นธาตุ AI มีสมบัติเป็นโลหะ ส่วนธาตุ Po และ At เป็นธาตุกัมมันตรังสี)
จากสมบัติข้างต้นทำให้ได้ข้อมูลว่าตั้งแต่ธาตุโบรอนถึงธาตุแอสทาทีน โดยที่ตำแหน่งของธาตุเหล่านี้อยู่ชิดเส้นทึบลักษณะขั้นบันไดในตารางธาตุตั้งแต่หมู่ IIIA ลงมา มีสมบัติเป็นทั้งโลหะและอโลหะจึงจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ (ยกเว้นธาตุ AI มีสมบัติเป็นโลหะ ส่วนธาตุ Po และ At เป็นธาตุกัมมันตรังสี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น